20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 23.14 น.
กิจกรรมเข้าร่วมและนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการนานาชาติ “The International Conference on Smart Materials and Nanotechnology (SmartMat 2024)” ในระหว่างวันศุกร์ 5 - 8 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิวและศูนย์ประชุมนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้งบประมาณสนับสนุนโครงการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านพลาสติกชีวภาพสำหรับใช้งานทางการแพทย์ (Hub of Talents in Bioplastics for Use in Medical Applications) จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2567 นำโดย รศ.ดร. วินิตา บุณโยดม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.ดร. สุกัญญา รอส คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ศ.ดร. สุวบุญ จิรชาญชัย วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.พันธ์ญา สุนินทบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร. สุธินี เกิดเทพ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ดร. โรเบิร์ต มอลลอย ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาจารย์จาก Aston University ประเทศอังกฤษ ได้แก่ Prof. Dr. Paul Topham และ Prof. Dr. Brian Tighe พร้อมด้วยอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา นอกจากนี้ภายในงานประชุมวิชาการนานาชาติ SmartMat 2024 ยังมีการจัดกิจกรรม Session: Hub of Talents in Bioplastics for Use in Medical Applications (BioMED HUB) และ Session: Polymers, Bioplastics, Rubber, Colloides and Emulsions รวมทั้งกิจกรรมพิเศษ Special Activities : Celebrating 60th Anniversary of CMU and 20th Anniversary of SmartMat ร่วมจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อการเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของงานประชุมวิชาการนานาชาติ The International Conference on Smart Materials and Nanotechnology (SmartMat 2024) ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิวและศูนย์ประชุมนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันศุกร์ 8 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ ห้องทิพย์พิมาน โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว โดยกิจกรรมนำเสนองาน Deep-Tech Start-ups ด้านวัสดุขั้นแนวหน้าโดยวิทยากรต่างประเทศและในประเทศ และกิจกรรมเสวนา “มุมมองการขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านสุขภาพสู่อนาคตของประเทศไทย” โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้าน start-up จากภาครัฐและเอกชน เกี่ยวกับอนาคตของการให้บริการทางการแพทย์ของประเทศไทยโดยอาศัยนวัตกรรมต่างๆ รวมไปถึงโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนในอนาคต สำหรับกิจกรรมเสวนา “ทิศทางการพัฒนางานวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” การนำเสนองานวิจัยของกลุ่มวิจัยและศูนย์ความเป็นเลิศด้านวัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นิทรรศการ และบูธแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม Deep-Tech/Start-up ในประเทศไทย และผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำหรับกิจกรรม Session: Hub of Talents in Bioplastics for Use in Medical Applications (BioMED HUB) ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร. สุวบุญ จิรชาญชัย วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี บรรยายในห้วข้อ “Tailoring Chitosan as Materials for Biomedical Applications” การนำเสนอผลงานทางวิชาการในงานประชุมวิชาการนานาชาติ SmartMat 2024 จำนวน 18 ผลงาน โดยมี 2 ผลงานได้รับรางวัล “Oral Presentation Award” ผลงานทางวิชาการในหัวข้อดังนี้
1. นายกิตติศักดิ์ ยารังษี นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเสนอผลงานในหัวข้อ “Advancements in Shape Recovery and Biocompatibility of Poly(L-lactide-co-glycolide-co-caprolactone) (PLGC) for Applications in Medical Devices and Tissue Engineering” รางวัล “Oral Presentation Award” โดยมี รศ.ดร.วินิตา บุณโยดม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
2. นางสาวพัณณ์ชิตา วงชาลี นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเสนอผลงานในหัวข้อ “Fabrication and Testing of Drug-loaded Polyaniline/Poly(vinyl alcohol) Hydrogel Patches for Transdermal Drug Delivery” รางวัล “Oral Presentation Award” โดยมี ผศ.ดร.รุ้งลาวัลย์ สมสุนันท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
3. นางสาวสุมณฑา รามางกูร นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเสนอผลงานในหัวข้อ “Preparation of Cannabinoid-encapsulated Poly(D,L-lactide-co-glycolide) Nanoparticles for Transnasal Drug Delivery” โดยมี รศ.ดร.วินิตา บุณโยดม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
4. นางสาวโศรยา แก้วเพีย นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยนเรศวร “Green Composite Films Based on Polylactide and Hemp Hurds for Enhanced Industrial Sustainability” โดยมี รศ.ดร. สุกัญญา รอส เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
5. ทพ. วโรชช์ อารยางกูร นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำเสนอผลงานในหัวข้อ “Physical characteristics and biocompatibility of three-dimensional printed polylactic-co-glycolic acid membranes with different ratios of lactic acid and glycolic acid used for guided bone regeneration: a comparative study” โดยมี รศ.ดร.ทพ. ณัฐวุฒิ เทือกสุบรรณ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
6. นางสาววรรณวนัช เชื้อทรัพย์เจริญ นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเสนอผลงานในหัวข้อ “Star-shaped Block Copolymers Prepared by Metal-free Ring-opening Polymerization for Use as Drug Carriers in Lung Cancer Treatment” โดยมี รศ.ดร.วินิตา บุณโยดม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
7. นายวทัญญู ทนงศักดิ์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอผลงานในหัวข้อ “Development of Highly Efficient and -Selective Cancer Therapy via Cell-Membrane Disruption by Chitosan-based Molecular Blocks” โดยมี ดร. ศรภัทร นิยมสินธุ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
8. นายภคนันท์ เอี่ยมพริ้ง นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยนเรศวร นำเสนอผลงานในหัวข้อ “Morphological and Molecular Effects of Polymer Compositions and Solvents on Bilayer PLLA/PCL/CAB Films and Curcumin-Loaded PLGA Nanofibers Potential Use for Tissue Engineering Scaffolds” โดยมี รศ.ดร. สุกัญญา รอส เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
9. นางสาววัลลิชา ผ่องศิริ นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยนเรศวร นำเสนอผลงานในหัวข้อ “Development of Poly(lactic acid) and Silk Sericin Microgels Incorporated into Poly(vinyl alcohol)-Silk Sericin Electrospun Nanofibers for Advanced Biomedical Applications” โดยมี รศ.ดร. สุกัญญา รอส เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
10. นายอภิสิทธิ์ แสนใจบาน นักศึกษาระดับปริญญาเอก คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเสนอผลงานในหัวข้อ “Highly Sensitivity of Time-Temperature Indicator Sensor from Core-Shell Structure of Polydiacetylene and Meta Oxide Nanoparticles” โดยมี ศ.ดร. พรชัย ราชตนะพันธุ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
11. ดร. ศรภัทร นิยมสินธุ์ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอผลงานในหัวข้อ “Development of Renewable Biodegradable Copolyester using Isosorbide”
12. นางสาวปวีณา ติกะโกศล นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเคมี นำเสนอผลงานโปสเตอร์ในหัวข้อ “Self-healing Injectable Hydrogels for Osteoarthritis: Evaluation of Stability, Rheological Properties, and Cartilage Regeneration Agent Release” โดยมี รศ.ดร.วินิตา บุณโยดม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
13. นาย ปัณณ์ กิจค้างพลู สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นำเสนอผลงานโปสเตอร์ในหัวข้อ “Photocurable poly(acrylamide)/poly(vinyl pyrrolidone) matrices for tissue engineering applications: A Preliminary synthesis and characterization” โดยมี ผศ.ดร. พัชรา ปัญญามูลวงษา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
14. นางสาว วาสนา จันทร์เต็ม สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นำเสนอผลงานโปสเตอร์ในหัวข้อ “Electrospun poly(vinyl alcohol) nanofibers containing mucus extracts of Phallus indusiatus mushroom” โดยมี ผศ.ดร. พัชรา ปัญญามูลวงษา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
15. ผศ.ดร. พัชรา ปัญญามูลวงษา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นำเสนอผลงานโปสเตอร์ในหัวข้อ “Incorporation of enzyme-loaded nanoparticles into poly(vinyl alcohol) electrospun membranes for biocatalytic applications”
16. ดร. ตะวัน ไชยวรรณ นักวิจัยยุทธศาสตร์เชิงรุก สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเสนอผลงานโปสเตอร์ในหัวข้อ “Exploring Poly(L-lactide-co-ɛ-caprolactone) Monofilaments: Innovating 3D Printing Techniques for Biomedical Applications” โดยมี รศ.ดร.วินิตา บุณโยดม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก โดยมี รศ.ดร.วินิตา บุณโยดม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
17. ดร. มนัสนันท์ นามหงษา นักวิจัยหลังปริญญาเอก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากการนำเสนอผลงานโปสเตอร์ในหัวข้อ “Influence of adding a plasticizer and a chain extender on the thermal and mechanical properties to improve the toughness properties of PLA” โดยมี รศ.ดร.วินิตา บุณโยดม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก โดยมี รศ.ดร.วินิตา บุณโยดม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
18. นางสาวธิดารัตน์ ขาวจันทร์ตา นักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “Synthesis and characterization of styrene-maleic acid block copolymers with acrylic and methacrylic acids for potential use in membrane protein extraction” โดยมี ดร. โรเบิร์ต มอลลอย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก